วันพุธที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ลำนำบึงกาฬ - สุดอีสาน แดนสยาม บึงกาฬ ปากซัน



สิ้นสุดการรอคอยอันยาวนานของชาวบึงกาฬที่เรียกร้องให้จัดตั้งอ. บึงกาฬ เป็นจังหวัดใหม่ แยกออกจาก จ.หนอง คายมาตั้งแต่ปี 2535 เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้บึงกาฬเป็นจังหวัดใหม่ ลำดับที่ 77 ของประเทศไทย

หากดูตามแผนที่ จ.หนองคายมีลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ทอดตัวไปตามลำน้ำโขง เป็นแนวยาว 330 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอฝั่งตะวันตกสุดไปยังอำเภอฝั่งตะวันออกสุดต้องใช้เวลา เกือบครึ่งค่อนวัน ยกตัวอย่าง เช่น เดินทางจากอ.บึงโขงหลงเข้าตัวเมืองหนองคาย เป็นระยะทางถึง 238 กิโลเมตร ระยะทางพอๆ กับกรุงเทพฯ ไปจ.นครสวรรค์

ด้วยสภาพเช่นนี้ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดความห่างเหินระหว่างชาวหนองคายด้วยกัน และเป็นอุปสรรคในการติดต่อราชการ ทำให้ภาครัฐดูแลเอาใจใส่ประชาชนไม่ทั่วถึงเท่าที่ควร ตามมาด้วยปัญหาการกระทำผิดกฎหมายและความมั่นคงของประเทศ เหล่านี้เป็นประเด็นหลักที่ต้องตั้ง จ.บึงกาฬ

เดิมจ.หนองคาย มี 17 อำเภอ เมื่อแยก จ.บึงกาฬ ออก จะทำให้จ.หนองคายมี 9 อำเภอ ประกอบด้วย เมืองหนองคาย, ท่าบ่อ, ศรีเชียง ใหม่, สังคม, โพธิ์ตาก, สระใคร, โพนพิสัย, เฝ้าไร่, และรัตนวาปี มีประชากร 506,343 คน

ส่วนจ.บึงกาฬ มี 8 อำเภอ ประกอบด้วย บึงกาฬ, เซกา, โซ่พิสัย, พรเจริญ, ปากคาด, บึงโขงหลง, ศรีวิไล, และ อ.บุ่งคล้า ประชากร 399,233 คน

มารู้จักจังหวัดน้องใหม่กันสัก นิด บึงกาฬมีพื้นที่ทั้งหมด 4,305.746 ตารางกิโลเมตร ทอดยาวตามลำน้ำโขงตั้งแต่ อ.ปากคาด ถึงอ.บึงโขงหลง ประมาณ 120 กิโลเมตร



ตัว อ.บึงกาฬ อยู่ตรงกับเมืองปากซัน แขวงบอลิคำไซ ประชาชนลาว ชาวบึงกาฬและชาวลาวข้ามไปมาหาสู่กันผ่านทางด่านถาวรบึงกาฬ และตามจุดผ่อนปรน อ.ปากคาด กับ อ.บุ่งคล้า อยู่เสมอ

นอกจากนี้ บริเวณด่านศุลกากรบึงกาฬยังมีการนำเข้า-ส่งออกสินค้าผ่านแดนด้วยแพขนาน ยนต์ ไปยังประเทศลาว ก่อนส่งต่อไปยังประ เทศเวียดนามและจีน คิดเป็นมูลค่า 500-3,000 ล้านบาทต่อปี

บึงกาฬมีสถานที่ราชการสำคัญ และเปิดให้บริการประชาชนรองรับการเป็นจังหวัดมาตั้งแต่ปีพ.ศ.2537 ไม่ว่าจะเป็น ศาลจังหวัดบึงกาฬ, สำนักงานอัยการจังหวัดบึงกาฬ, เรือนจำจังหวัดบึงกาฬ, สำนักงานขนส่งจังหวัดหนองคาย สาขาบึงกาฬ, โรงพยาบาลบึงกาฬ, แขวงการทางหนองคายที่ 2, ตชด.244, ศุลกากรบึงกาฬ, ด่านตรวจคนเข้าเมืองบึงกาฬ

อีกทั้งมีหน่วยงานสาธารณูปโภค เช่น ไฟฟ้า, ประปา, โทรศัพท์ และไปรษณีย์ อยู่ครบครัน รวมถึงสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย และมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี สาขาบึงกาฬ

ส่วนศูนย์ราชการที่จะสร้างใหม่ กำหนดพื้นที่ไว้บริเวณที่สาธารณประโยชน์กุดทิง ต.โนนสมบูรณ์ อ.บึงกาฬ เนื้อที่ 870 ไร่ โดยจะก่อสร้างศาลากลางจังหวัด กองกำกับการตำรวจภูธรจังหวัด และหน่วยงานราชการอื่นๆ



นาย เลิศพรไชย ไชยฤทธิ์ นายอำเภอบึงกาฬ กล่าวว่า หลังจากที่ทราบมติครม.แล้ว ชาวบึงกาฬทุกคนต่างยินดีกันถ้วนหน้า เป็นการรอคอยอันแสนยาวนาน กว่าวันนี้จะมาถึงชาวบึงกาฬ และอำเภอใกล้เคียงได้ร่วมกันหารือ กำหนดวิสัยทัศน์จังหวัดไว้ล่วงหน้า ก่อนจะมีมติ ครม.ออกมาว่า ต้องการให้เป็น "เมืองศูนย์ กลางยางพารา พัฒนาการท่องเที่ยว"

เนื่องจากเดิมหนองคายมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดในภาคอีสาน และพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในอ.บึงกาฬ เมื่อเป็นจังหวัดใหม่แล้วจะทำให้จ.บึงกาฬมีพื้นที่ปลูกยางพารามากที่สุดแทน ประมาณ 300,000 ไร่ ผลผลิตยางพาราในบึงกาฬมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น มียางที่กรีดได้แล้วประ มาณร้อยละ 80 และเกษตรกรก็ปลูกยางพาราเพิ่มขึ้นอีกทุกปี ยางพาราจึงถูกกำหนดให้เป็นพืชเศรษฐกิจในการพัฒนาพื้นที่แห่งนี้

ที่ จะพัฒนาควบคู่กันไป คือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่มีอยู่ในอำเภอรายรอบบึงกาฬ อาทิ "พื้นที่ชุ่มน้ำกุดทิง" อุดมไปด้วยพันธุ์ปลาและพันธุ์ไม้น้ำ เหมาะแก่การศึกษาระบบนิเวศวิทยา หรือ "แก่งอาฮง" วัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่บริเวณจุดแคบสุดของแม่น้ำโขง บริเวณนี้มีกลุ่มหินสวยงาม และเป็นจุดหนึ่งที่เกิดปรากฏการณ์บั้งไฟพญานาค ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11

"เขต รักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว" แหล่งอาศัยของสัตว์นานาชนิด ทั้งช้างป่า เสือ กระทิง วัวแดง เนื้อทราย กวาง เก้ง กระจง ฯลฯ บริเวณเดียวกันนี้ยังมีน้ำตกสวยงามหลายแห่ง อาทิ น้ำตกถ้ำฝุ่น น้ำตกชะแนน น้ำตกเจ็ดสี

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ชุ่มน้ำบึงโขงหลง รวมถึงวัด และแหล่งปฏิบัติธรรมหลายแห่ง เช่น วัดเจติยาคีรีวิหาร หรือ ภูทอก ในอ.ศรีวิไล มีลักษณะเป็นภูเขาหินขนาดย่อม สูงจากระดับน้ำทะเล 350 เมตร เป็นที่ตั้งของ "เจดีย์พระอาจารย์จวน กุลเชฎโฐ" พระอาจารย์สายวิปัสสนาชื่อดัง ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ ทั้งหมดจะได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการเป็นจังหวัดใหม่ และต้อนรับนักท่องเที่ยวในอนาคต

ใครที่สนใจอยากทำความรู้จักจังหวัด น้องใหม่ให้มากยิ่งขึ้น วันที่ 10-12 ก.ย.ที่จะถึงนี้ ชาวบึงกาฬจัดงานแข่งขันเรือยาวประเพณีชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราช สุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่จัดต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 11 แล้ว

งานนี้ นอกจากเป็นงานส่งท้ายอ.บึงกาฬแล้ว ยังถือเป็นการเฉลิมฉลองเปิดบ้านต้อนรับผู้มาเยือนอย่างไม่เป็นทางการ หลังจากจ.บึงกาฬได้รับการพิจารณาครบทุกขั้นตอนแล้ว

ชาวบึงกาฬจะจัดงานฉลองยิ่งใหญ่อีกครั้ง รวมถึงจะเดินหน้าสร้างสาธารณูปโภค อาคารสถานที่ และจัดตั้งองค์กรเอกชนต่างๆ ให้ครอบคลุมการเป็นจังหวัดใหม่

ทั้งหมดนี้คือ ยุทธศาสตร์การพัฒนา และอนาคตของ "บึงกาฬ" จังหวัดที่ 77 ของประ เทศไทย

ที่มาบทความ
หน้า 5 ข่าวสดรายวัน

วันที่ 08 สิงหาคม พ.ศ. 2553 ปีที่ 20 ฉบับที่ 7192 ข่าวสดรายวัน

ที่มา http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=kengmanny&month=08-08-2010&group=17&gblog=213

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คลิปวิดีโอ แนะนำ นำเที่ยว พาเที่ยว จังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่77ของประเทศไทย

คลิปวิดีโอ แนะนำ นำเที่ยว พาเที่ยวบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย





วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยว ในจังหวัดบึงกาฬ

บึงกาฬ เมืองมีเสน่ห์ริมแม่น้ำโขง

หาก พูดถึง "จังหวัดบึงกาฬ " แน่นอนว่าชื่อนี้อาจเป็นชื่อใหม่ ที่ยังเรียกกันไม่ค่อยติดปาก แต่ถ้าบอกว่า บึงกาฬ คือจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทยหล่ะ คุณคงต้องสงสัยว่าจังหวัดน้องใหม่นี้มีดีอะไรกัน





จังหวัดบึงกาฬ คือ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย โดย บึงกาฬ นั้นเคยเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย แต่ปัจจุบันได้มีการจัดตั้งบึงกาฬให้เป็นจังหวัดเรียบร้อยแล้วค่ะ

บึงกาฬ ถือว่าเป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นน้ำตก มีภูเขา และยังเป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งมีทัศนียภาพที่งดงามไม่แพ้จังหวัดอื่นๆที่ติดกับแม่น้ำโขงเหมือนกัน และฝั่งตรงข้ามจังหวัดบึงกาฬก็ยังมีประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาวอีกด้วย ค่ะ

นอกจากการถูกยกขึ้นเป็นจังหวัดแล้วนั้น บึงกาฬ มีอะไรน่าสนใจอีกบ้าง นี่คงเป็นคำถามแรก ของคนที่กำลังเริ่มสนใจจังหวัดนี้ขึ้นมาบ้างแล้ว จังหวัดบึงการนั้นมีสถานทีท่องเที่ยวหลายๆแห่งที่น่าสนใจเหมือนกันค่ะ

โดยสถานที่แรกที่ควรมาเยือนเมื่อมาถึงบึงกาฬ คือ หนองกุดทิง ถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศได้เป็นอย่างดี อีกทั้งหนองน้ำแห่งนี้ยังเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ มีความหลากหลายทางชีวภาพ ด้วยความอุดมสมบูรณ์ดังกล่าวจึงได้ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุ่มน้ำโลกแห่งที่ 2 ของจังหวัดหนองคาย


และในเขตพื้นที่ของหนองกุดทิงนี้เอง มีที่อนุรักษ์เด็ดขาดคือ ไม่ให้คนผ่านไป เลี้ยงสัตว์ จับสัตว์ทุกชนิดในบริเวณนั้นมากกว่า 5 แห่ง จึงมีนกและสัตว์น้ำอาศัยอยู่เพื่อเพาะพันธุ์อย่างมากมายตลอดทั้งปี

สถานที่ต่อมาคือ วัดอาฮงศิลาวาส ซึ่งเป็นวัดที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮง อยู่ในเขตบ้านอาฮง โดยภายในวัดนั้นค่อนข้างสงบร่มรื่น เหมาะแก่การมานั่งวิปัสนาเป็นอย่างมาก และใกล้ๆวัดก็มี แก่งอาฮง ซึ่งเป็นแก่งหินกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส

แก่งอาฮง ถือว่าเป็นจุดที่แม่น้ำโขงมีความลึกที่สุดไม่สามารถวัดความลึกได้ กระแสน้ำบริเวณแก่งอาฮงจะไหลเชี่ยวมากในฤดูน้ำหลากและมีกระแสน้ำไหลวนเป็น รูปกรวยขนาดใหญ่ซึ่งชาวบ้านเชื่อกันว่าเป็น "สะดือแม่น้ำโขง" แม่น้ำโขงบริเวณแก่งอาฮงมีความกว้างประมาณ 300 เมตร







และที่ดูจะลืมไปเสียไม่ได้ เมื่อมาบึงกาฬแล้วไม่ได้แวะมานมัสการและขอพรจาก หลวงพ่อพระใหญ่ บ้านท่าใคร้ แน่นอนว่าคงน่าเสียดายไม่น้อย โดยหลวงพ่อพระใหญ่ นั้น อยู่ที่วัดโพธาราม ในเขตพื้นที่ของบ้านท่าใคร้ ซึ่งหลวงพ่อพระใหญ่ เป็นพระพุทธรูปรางมารวิชัย โบกฉาบด้วยปูน

วัดโพธารามบ้านท่าไคร้ เป็นวันที่เก่าแก่ที่สุดของบึงกาฬ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการจัดงานเทศกาลประจำทุกปี ซึ่งประชาชนต่างก็ให้ความสนใจเคารพนับถือเป็นอย่างมาก

ถัดจากเข้าวัดขอพรแล้วนั้นเราขอแนะนำให้มาเยือน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ซึ่ง ถือว่าเป็นแหล่งต้นน้ำ ลำธารที่สำคัญของบึงกาฬอีกด้วยค่ะ ภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว นั้นมีสถานที่ที่น่าสนใจมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการชมธรรมชาติและสัตว์ป่าที่ยังคงมีอยู่จำนวนมาก





และที่ดูจะพลาดไม่ได้ก็คงเป็นการไปชมน้ำตกที่มีชื่อเสียงของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว อย่าง น้ำตกเจ็ดสี โดยแต่เดิมชื่อน้ำตกกะอาม มี 4 ชั้น เป็นน้ำตกจาหน้าผาสูงทำให้เกิดเป็นละอองน้ำ เมื่อกระทบกับแสงแดดจึงเกิดสีต่าง ๆ ซึ่งเป็นที่มาของชื่อน้ำตกนั่นเองค่ะ


จากนั้นไปชม น้ำตกชะแนน ซึ่ง นับเป็นน้ำตกที่ใหญ่และสวยงามที่สุดในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว และเดินทางเข้าถึงได้ยากที่สุด การเดินทางเข้าน้ำตกชะแนนสามารถเข้าได้ 2 ทาง โดยรถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ และทางเรือ

ที่เป็นไฮไลท์ของน้ำตกชะแนน ก็คงจะเป็น สะพานหิน ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่น้ำลอดหายไปใต้แนวหินที่มีความยาวประมาณ 100 เมตร และมีบึงจระเข้ซึ่งเป็นบึงขนาดใหญ่ ตั้งอยู่เหนือน้ำตก ครั้งเดินตัดน้ำตกขึ้นไปอีกประมาณ 300 เมตร บริเวณริมบึงมีหาดทรายกว้างเหมาะสำหรับใช้เป็นพื้นที่กางเต้นท์พักแรมได้ค่ะ


นอกจากนั้นแล้วภายในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว ยังมีน้ำตก และถ้ำอื่นๆที่มีความสวยงามและน่ามาเยือนสักครั้ง ก่อนพระอาทิตย์จะลาลับขอบฟ้า แวะมาชมแสงสุดท้ายของดวงสุริยันที่ หาดทรายขาว หาดทรายสวยงามริมฝั่งแม่น้ำโขง ที่มีความยาวประมาณ 2 กม.อีกด้วยค่ะ

แหล่งที่มาข้อมูล http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=sitcom&month=05-08-2010&group=32&gblog=36

ประวัติความเป็นมาของบึงกาฬ ก่อนที่จะยกฐานะเป็นจังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย


บึงกาฬ เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดหนองคาย มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดกับแม่น้ำโขง และอีกฝั่งตรงข้ามแม่น้ำโขงจะเป็นประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) มีการคมนาคมสะดวก

แต่เดิมอำเภอบึงกาฬมีชื่อเดิมว่า ไชยบุรี ซึ่งขึ้นกับจังหวัดนครพนม จนกระทั่งปี พ.ศ. 2460 ได้ถูกโอนย้ายให้ขึ้นต่อจังหวัดหนองคาย และถูกเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น บึงกาฬ ในปี พ.ศ. 2482

ต่อมา ในปี พ.ศ. 2537 ได้มีการร้องขอให้จัดตั้งเป็นจังหวัดบึงกาฬ ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย แต่กระทรวงมหาดไทย ยังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี

จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2553 ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร นายเทวฤทธิ์ นิกรเทศ ส.ส.สัดส่วน พรรคกิจสังคมได้ตั้งกระทู้ถามสดต่อนายกรัฐมนตรี เรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ และทางกระทรวงมหาดไทยเห็นด้วย กำลังอยู่ในกระบวนการนำเข้าเสนอต่อที่ประชุม ครม. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนส่งเรื่องเข้ามาสู่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อเสนอเป็นกฎหมายพ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ต่อไป

ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

ที่ตั้งและอาณาเขต

อำเภอบึงกาฬมีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังนี้

* ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบอลิคำไซ (สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว)
* ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอบุ่งคล้า
* ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเซกา อำเภอศรีวิไล อำเภอพรเจริญ และอำเภอโซ่พิสัย
* ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากคาด

การปกครองส่วนภูมิภาค

อำเภอบึงกาฬแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 131 หมู่บ้าน ได้แก่
1. บึงกาฬ
(Bueng Kan)
11 หมู่บ้าน





7. นาสวรรค์
(Na Sawan)
9 หมู่บ้าน
2. โนนสมบูรณ์
(Non Sombun)
13 หมู่บ้าน





8. ไคสี
(Khai Si)
10 หมู่บ้าน
3. หนองเข็ง
(Nong Kheng)
11 หมู่บ้าน





9. ชัยพร
(Chaiyaphon)
13 หมู่บ้าน
4. หอคำ
(Ho Kham)
14 หมู่บ้าน





10. วิศิษฐ์
(Wisit)
13 หมู่บ้าน
5. หนองเลิง
(Nong Loeng)
13 หมู่บ้าน





11. คำนาดี
(Kham Na Di)
8 หมู่บ้าน
6. โคกก่อง
(Khok Kong)
9 หมู่บ้าน





12. โป่งเปือย
(Pong Pueai)
7 หมู่บ้าน


การปกครองส่วนท้องถิ่น

ท้องที่อำเภอบึงกาฬประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจำนวน 13 แห่ง ได้แก่

* เทศบาลตำบลบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลบึงกาฬและบางส่วนของตำบลวิศิษฐ์
* เทศบาลตำบลวิศิษฐ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลวิศิษฐ์ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบึงกาฬ)
* เทศบาลตำบลหนองเข็ง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเข็งทั้งตำบล
* เทศบาลตำบลหอคำ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหอคำทั้งตำบล
* เทศบาลตำบลโคกก่อง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโคกก่องทั้งตำบล
* เทศบาลตำบลไคสี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลไคสีทั้งตำบล
* องค์การบริหารส่วนตำบลบึงกาฬ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลบึงกาฬ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลบึงกาฬ)
* องค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนสมบูรณ์ทั้งตำบล
* องค์การบริหารส่วนตำบลหนองเลิง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองเลิงทั้งตำบล
* องค์การบริหารส่วนตำบลนาสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลนาสวรรค์ทั้งตำบล
* องค์การบริหารส่วนตำบลชัยพร ครอบคลุมพื้นที่ตำบลชัยพรทั้งตำบล
* องค์การบริหารส่วนตำบลคำนาดี ครอบคลุมพื้นที่ตำบลคำนาดีทั้งตำบล
* องค์การบริหารส่วนตำบลโป่งเปือย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโป่งเปือยทั้งตำบล

ที่มาแหล่งข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/อำเภอบึงกาฬ

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สถานที่ท่องเที่ยว แหล่งท่องเที่ยวในบึงกาฬ(พอสังเขป)



หลวงพ่อใหญ่ วัดโพธาราม
หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปปรางมารวิชัย โบกฉาบด้วยปูน หน้าตักกว้าง 2 เมตร จากฐานถึงยอดพระเกตุสูง 2.10 เมตร จากพระฌานุ (เข่า) ถึงพระศอ (คอ) สูง 0.90 เมตร และจากพระศอ ถึงยอดพระเกตุ สูง 1.20 เมตร พระหัตถ์ซ้ายหงายวางบนหน้าตัก พระหัตถ์ขวาคว่ำวางทับพระฌานุ นิ้วพระหัตถ์ทั้ง 5 เหยียดทั้ง 5 เหยียดลงอย่างมีระเบียบเหมือนพระพุทธรูปทั่วไป ประดิษฐานอยู่บนแท่นสี่เหลี่ยม ซึ่งได้บูรณะขึ้นใหม่ในปี พ.ศ.2537

วัดโพธาราม
วัดโพธาราม เป็นวัดที่ชาวบ้านนับถือ

หาดทรายขาวริมฝั่งแม่น้ำโขง
เป็นหาดทราย ขาวริมฝั่งแม่น้ำโขงที่สวยงามระยะทางยาวประมาณ 2 กม. เมื่อยามเช้าและเย็นอากาศดีลมพัดเย็นสบาย และความสวยงามเมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและตกดิน

กุดทิง
เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ มีปลาน้ำจืดมากมาย เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นและตกแสงจะตกกระทบกับน้ำสวยงามมาก เหมาะสำหรับเป็นที่นั่งพักผ่อนชมวิวมาก

วัดอาฮงศิลาวาส



แก่งอาฮง เป็นแก่งกลางลำน้ำโขง บริเวณหน้าวัดอาฮงศิลาวาส ตั้งอยู่ที่ บ้านอาฮง ตำบลหอคำ ถือว่าเป็น
จุดที่ลึกที่สุดของแม่น้ำโขง หรือ ที่เรียกว่า สะดือแม่น้ำโขง เราจะสามารถมองเห็นแก่งได้ในช่วงเดือน มีนาคม ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในบริเวณแก่งจะมีกลุ่มหิน มากมาย เรียกชื่อตามลักษณะของหิน เช่น หิ้นลิ้นนาค หินปลาเข้ นอกจากเป็นแหล่งพักผ่อนและสถานที่ท่องเที่ยวแล้วชาวบ้านโดยรอบยังอาศัย
ทำ การประมงอีกด้วย

วัดอาฮงศิลาวาส
วัดอาฮงศิลาวาส วัดตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำโขง
เมื่ออดีตกาลนานมาแล้ว หลวงพ่อลุน ผู้ก่อตั้งวัดแห่งนี้ขึ้นมาในกลางป่า
ดงดิบปะปนกับโขดหินน้อยใหญ่ ซึ่งเป็นเทือกเขาเชื่อมโยงมาจากฝั่งประเทศลาว


วัดนี้มีชื่อว่า "วัดป่าเลไลย์"
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2506 หลวงพ่อลุนได้มรณภาพลงทำให้วัดนี้ไม่มี
พระ ภิกษุอยู่จำวัดแบบถาวร เลยคงเหลือแต่ ชีแ่ก่ ๆ อยู่เฝ้าจำวัดและรักษาวัด
กระทั่ง พ.ศ. 2517 ท่านเจ้าคุณนิเทศศาสนคุณ(หลวงพ่อมหาสมาน สิริปัญโญ)
ผ่านมา แวะเข้าไปดูบริเวณวัดและเห็นสภาพทั่วไป สงบ ร่มรื่น อยู่ติดกับริมฝั่ง
แม่ น้ำโขง ต่อมาหลวงพ่อได้ปรึกษากับคณะพระภิกษุสงฆ์พร้อมญาติโยม จะปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ขึ้นใหม่ ให้เป็นวัดที่สมบูรณ์ และถาวร โดยได้ปรับปรุงสภาพ
แวดล้อมโดยทั่วไป และก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกที่มีความจำเป็นแก่พระภิกษุสงฆ์ สามเณร และญาติโยม แล้วหลวงพ่อตั้งชื่อวัดใหม่ให้เข้ากับสภาพ
แวดล้อมว่า "วัดอาฮงศิลาวาส" จนถึงปัจจุบัน และได้พัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าไปเที่ยวเป็นอย่าง ยิ่งในปัจจุบัน

คำขวัญวัดอาฮงศิลาวาส
สะดืิอแม่น้ำโขง แก่งอาฮงงามตา ถ้ำดอกม้าและฤาษี ธานีบั้งไฟพญานาค
หลายหลากแหล่งหย่อนใจ หลวงพ่อใหญ่คุวานันท์ อรหันต์แห่งปวงชน

ที่มาข้อมูล www.mybungkan.com

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

วิดีโอข่าวแสดงศักยภาพของจังหวัดบึงกาฬ จังหวัดที่ 77 ของประเทศไทย

ชาวบึงกาฬ มีเฮ คณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติให้เป็นจังหวัดที่77 ของประเทศไทยแล้ว



ที่มาคลิปข่าว http://www.youtube.com/watch?v=V9ZoEzEKN8M

บุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย เปิดเผยเตรียมตั้งผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ บึงกาฬ

เมื่อเวลา 11.00 น. นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย กล่าวถึงการตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77 ของไทย ว่า ผลดีก็คือเป็นไปตามความต้องการของประชาชน เพราะเป็นการอำนวยความสะดวกของประชาชนที่ต้องการใช้บริการต่างๆ เพราะพื้นที่จังหวัดหนองคายเดิม เป็นพื้นที่ลักษณะพิเศษ คือ ติดประเทศลาว และมีแม่น้ำโขงกั้นกลางเป็นแนวขนาน จากทิศตะวันตกไปทิศตะวันออก ระยะทางเกือบ 400 กม.ความลำบากของประชาชนในการติดต่อหน่วยงานราชการจะลำบากมากในการเดินทาง การแยกจังหวัดจึงเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชน ผลดีในด้านเศรษฐกิจนั้น โดยจากนี้พอมีจังหวัด ก็ต้องมีผู้ว่าฯ รองผู้ว่าฯ แต่ตัว ส.ส.ต้องเป็นไปตามเกณฑ์ประชากร วันนี้หนองคายเดิม มีประชากรประมาณ 9 แสนคน พอแยกเป็น จ.บึงกาฬ ก็จะมีประชากร 3 แสนกว่าคน จำนวน ส.ส.ก็เป็นไปตามหลักเกณฑ์เดิมของกฎหมายทุกอย่าง

เมื่อถามว่า การแยกเป็น จ.บึงกาฬ ซึ่งเป็นพื้นที่ในภาคอีสาน จะส่งผลดีต่อการเลือกตั้งของพรรคภูมิใจไทยหรือไม่ นายบุญจง ในฐานะรองหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย กล่าวว่า ไม่มีผลอะไร การแยกจังหวัดเกิดขึ้นเพราะปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน และก็มีการสอบถามประชาชนทั้งจังหวัด ร้อยละ 98 เห็นด้วย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็เห็นด้วย ส่วนที่ว่า พื้นที่เป็นฐานเสียงของพรรคภูมิใจไทยหรือไม่นั้น พื้นที่ดังกล่าวเป็น ส.ส.พรรคเพื่อไทยทั้งหมด

ที่มาแหล่งข่าว http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?newsid=461383

คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติตั้ง บึงกาฬ เป็นจังหวัดที่77 ของประเทศไทย

ครม.ไฟเขียวตั้ง "อ.บึงกาฬ" ขึ้นเป็น "จังหวัดที่ 77" ของไทย โดยแยกตัวออกจาก จ.หนองคาย ประกอบด้วย 8 อำเภอ ชี้มีศักยภาพยกระดับเป็นจังหวัดได้ ระบุมีอีก 3-4 อำเภอจ้องขอแยกตัว อาทิ อ.ฝาง จ.เชียงใหม่...



เมื่อวันที่ 3 ส.ค. นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการร่าง พ.ร.บ.จัดตั้งจังหวัดบึงกาฬเป็นจังหวัดที่ 77 ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอมา โดยแยกออกจาก จ.หนองคาย เนื่องจากมีคุณสมบัติครบถ้วนในการเป็นจังหวัดใหม่คือ มี 8 อำเภอประกอบด้วย อ.บึงกาฬ อ.เซกา อ.โซ่พิสัย อ.พรเจริญ อ.ปากคาด อ.บึงโขงหลง อ.ศรีวิไล และ อ.บุ่งคล้า มีประชากรเกือบ 4 แสนคน จากเกณฑ์ 3 แสนคน และจังหวัดมีรายได้ 89 ล้านบาท/ปี จากเกณฑ์รายได้ 2.5 ล้านบาท/ปี มีความพร้อมเรื่องสาธารณูปโภคทั้งศาลากลาง อำเภอ สำนักงานอัยการ ไฟฟ้า ประปา โทรศัพท์ แขวงการทาง สถานีตำรวจน้ำ

นอกจากนี้ยังเป็นพื้นที่ รูปแบบพิเศษติดชายแดนลาว 330 กม. อย่างไรก็ตามแม้จังหวัดบึงกาฬมีพื้นที่ 4,305 ตร.กม. ซึ่งไม่ถึงเกณฑ์ 5,000 ตร.กม. แต่ก็มีข้อยกเว้นให้ เพราะที่ผ่านมา จ.หนองบัวลำภู และ จ.อำนาจเจริญ ก็มีพื้นที่ไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนดเช่นกัน ซึ่งก่อนหน้านี้กระทรวงมหาดไทยสำรวจความเห็นของประชาชนในพื้นที่จากการ ประชุมประชาคมหมู่บ้านพบว่า ประชาชน 98% เห็นด้วย และองค์กรปกครองท้องถิ่นเห็นด้วย 96% และหัวหน้าส่วนระดับอำเภอเห็นด้วย 100%

ทั้งนี้ นายปณิธาน กล่าวว่า ครม.ตั้งข้อสังเกตว่า การตั้งจังหวัดต้องมีการวางแนวทางชัดเจน ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มงบประมาณและบุคลากรในพื้นที่ โดยสำนักงบประมาณคาดการณ์ว่า ต้องเพิ่มงบประมาณ 200 ล้านบาทต่อปี แต่คุ้มค่าหากเทียบกับการเพิ่มรายได้ของจังหวัดและการบริหารจัดการในพื้นที่ เกิดความคล่องตัวมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงมหาดไทยระบุว่า มีอีก 3-4 อำเภอที่มีความพร้อมขอแยกตัวเป็นจังหวัดใหม่ เช่น อ.ฝาง ที่จะขอแยกตัวออกจาก จ.เชียงใหม่ ซึ่งนายกฯ มอบให้กระทรวงมหาดไทยไปรวบรวมรายละเอียด และทบทวนข้อสังเกตของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่กฎหมายดังกล่าวจะเข้าสู่สภาต่อไป.



วิดีโอข่าวโดย Nation Channel วันที่ 03 สิงหาคม 2553



ที่มาแหล่งข่าว http://www.thairath.co.th/content/pol/101013

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับจังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬ

จังหวัดบึงกาฬ เป็นจังหวัดที่มีการร้องขอให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี พ.ศ. 2537 ตามข้อเสนอของนายสุเมธ พรมพันห่าว สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พรรคเสรีธรรม จังหวัดหนองคาย โดยแยกพื้นที่อำเภอบึงกาฬ อำเภอปากคาด อำเภอโซ่พิสัย อำเภอพรเจริญ อำเภอเซกา อำเภอบึงโขงหลง อำเภอศรีวิไล และอำเภอบุ่งคล้า ออกจากจังหวัดหนองคาย



จากการสำรวจความเห็นของประชาชน จำนวน 366,903 คน ปรากฏว่าประชาชนเห็นด้วยกับการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ ร้อยละ 98.83 หากมีการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ จะมีประชากรประมาณ 399,233 คน ประกอบด้วย 8 อำเภอ ส่วนจังหวัดหนองคาย จะประกอบด้วย 9 อำเภอ ประชากร 506,343 คน

โดยก่อนหน้านี้ บึงกาฬ เป็นอำเภอที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่ง มีน้ำตก มีภูเขา เป็นอำเภอที่มีเขตพื้นที่ติดต่อกับแม่น้ำโขง และแขวงบริคำไชย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

เมื่อปี พ.ศ. 2537 กระทรวงมหาดไทย ได้แจ้งผลการพิจารณาว่ายังไม่มีแผนที่จะยกฐานะอำเภอบึงกาฬขึ้นเป็นจังหวัด เพราะการจัดตั้งจังหวัดใหม่เป็นการเพิ่มภาระด้านงบประมาณ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มกำลังคนภาครัฐซึ่งขัดมติคณะรัฐมนตรี

ต่อมาในปี พ.ศ. 2553 กระทรวงมหาดไทย ได้นำเรื่องการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ เข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอเป็นร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬ

ต่อมาในวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553 คณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ทำการจัดตั้งจังหวัดบึงกาฬขึ้นซึ่งมีผลนับตั้งแต่นี้ เป็นต้นไป จึงนับได้ว่าขณะนี้จังหวัดบึงกาฬได้แยกตัวออกจากจังหวัดหนองคายเป็นจังหวัด ที่ 77 ในราชอาณาจักรไทย

ที่มาแหล่งข้อมูล http://th.wikipedia.org/wiki/จังหวัดบึงกาฬ